วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

อุปรณ์ควบคุมในระบบทางกล

       1.ตัวควบคุมสารทำความเย็น (Refrigerant Control) การที่จะให้เกิดความเย็นขึ้นได้ จะต้องมีอุปกรณ์ หรือตัวควบคุม ปริมาณสารทำความเย็น ที่จะฉีดเข้าในอีแวปปอเรเตอร์ ซึ่งสามารถทำ งานได้โดยอัตโนมัติ เพื่อจะทำให้สารทำความเย็นเหลวที่มีความดันสูง กลายเป็นของเหลวที่มีความดันต่ำ พร้อมที่จะมีปริมาณเพียงพอ ที่จะ รักษาความเย็นให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด คือควบคุมให้ปริมาณสารทำ ความเย็น ให้ระเหยหมดพอดีในอีแวปปอเรเตอร์ ตัวควบคุมสารทำความเย็น ที่ใช้ใน เครื่องปรับอากาศในรถยนต์ ส่วนมากจะใช้เทอร์โมสแตติคเอ็กซ์แปนชั่นวาล์ว(Thermostatic Expansion Valve)                                                                                                                                                      
                                                                                                                                                                  
2.การป้องกันความดันสูง/ต่ำ วาล์วบริการ (service valves) คืออุปกรณ์ที่ติดตั้งในระบบทำความเย็น ประกอบด้วยวาล์วบริการด้านความดันต่ำ (low side หรือ suction service valve) ติดตั้งอยู่ด้านความดันต่ำของระบบ เช่น ติดตั้งที่ทางเข้าคอมเพรสเซอร์ หรือติดตั้งอยู่กับท่อสารทำความเย็นด้านดูดที่ออกจากเครื่องระเหย และวาล์วบริการด้านความดันสูง (high side หรือ dischange service valve) ซึ่งจะติดตั้งอยู่ด้านความดันสูงของระบบ เช่น ติดตั้งที่ทางออกของคอมเพรสเซอร์ หรือติดตั้งอยู่กับท่อสารทำความเย็นเหลวที่ออกจากคอมเพรสเวอร์ ในการปฏิบัติงานเพื่อการบริการและตรวจวิเคราะห์ปัญหาในระบบทำความเย็น จะใช้เกจแมนิโฟลด์ต่อเข้ากับวาล์วบริการของระบบทำความเย็น                                                                                                                                                                            

3.การป้องกันน้ำมันเข้าระบบ สาเหตุที่ต้องทำท่อ Trap ในกรณีที่วางคอยล์ร้อนในตำแหน่งสูงเหนือคอยล์เย็น เนื่องจากอธิบายง่ายๆตามกฎของธรรมชาติ ที่กล่าวว่า "ของเหลวทุกชนิดจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ" ในระบบเครื่องทำความเย็นก็เช่นกัน น้ำมันที่อยู่ในคอมเพรสเซอร์อยู่ในสถานะของเหลว ซึ่งน้ำมันในคอมเพรสเซอร์ มีหน้าที่ในการระบายความร้อนให้คอมเพรสเซอร์ และ หล่อลื่นระบบทางกลหรือกลไกลในคอมเพรสเซอร์ ในกรณีที่เครื่องทำงาน การดูดอัดสารทำความเย็นของคอมเพรสเซอร์ จะอัดน้ำมันที่อยู่ในตัวออกมาพร้อมสารทำความเย็นมาทางท่อทางอัด และดูดกลับเข้าไปในคอมเพรสเซอร์ทางท่อทางดูด ในการติดตั้งโดยวิธีให้ชุดคอยล์ร้อนวางในตำแหน่งต่ำกว่าคอยล์เย็น น้ำมันหล่อลื่น ย่อมไหลกลับสู่คอมเพรสเซอร์ตามแรงดึงดูดอย่างง่ายดาย แต่หากการติดตั้งที่ต้องวางคอยล์ร้อนให้สูงเหนือคอยล์เย็น ถ้าหากไม่มีการทำท่อดักน้ำมันไว้น้ำมันก็จะไหลลงได้เช่นกันเพราะในระบบท่อนั้นเป็นสูญญากาศ แต่การไหลกลับจะไหลกลับไม่ทันต่อการระบายความร้อน เนื่องจากน้ำมันมีความหนืดและน้ำหนักมากกว่าสารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นแก๊สในท่อทางดูด ทำให้การระบายความร้อนทำได้ไม่ดี มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ร้อนจนถึงร้อนจัด

4.การป้องกันน้ำแข็งอุตตันในระบบ น้ำยาป้องกันและกำจัด ตะกรัน/สนิม ในระบบ ชิลเลอร์ NEW CLEAN 103 ขนาดบรรจุ 1 แกลอน = 20 ลิตร เป็นเคมีภัณฑ์ชนิดน้ำ ใช้สำหรับเติมในระบบชิลเลอร์ของคูลลิ่ง ทาวเวอร์ ทั้งแบบทรงกลม และแบบทรงสี่เหลี่ยม เพื่อรักษาคุณภาพของน้ำในระบบให้อยู่ในค่าปกติ NC. 103 เป็นเคมีภัณฑ์รุ่นใหม่ล่าสุด มีคุณสมบัติพิเศษต่างจากเคมีภัณฑ์ชนิดเดียวกันอื่นๆ ในท้องตลาดทั่วไป คือ NC. 103 เป็นเคมีภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น เพื่อทำปฏิกิริยากับตะกรันและสนิม ที่ปนเปื้อนในน้ำเย็น ในระบบชิลเลอร์ เท่านั้น โดยจะไม่ทำปฏิกิริยากับ โลหะหนัก/ท่อต่างๆ ในระบบชิลเลอร์
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น