วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ

คอยล์เย็นคืออะไร

คอยล์เย็น หรือ Evaporator คือส่วนประกอบของแอร์ อีกอย่างหนึ่งที่เราเห็นอยู่ภายในตัวอาคาร คุณสงสัยไหมว่า คอยล์เย็นคืออะไร ทำหน้าที่อะไร มีหลักการทำงานอย่างไร
คอยล์เย็นหรือ Evaporator[/caption]
หน้าที่ของคอยล์เย็นคือทำให้น้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็นเกิดการเดือดภายในท่อ และทำให้ของไหลที่ผ่านด้านนอกท่อเย็นตัวลง ซึ่งคอยล์เย็นแบบนี้มีชื่อเรียกว่า คอยล์เย็นแบบขยายตัวโดยตรง ซึ่งภายในคอยล์เย็นจะมีท่อที่ติดตั้งครีบระบายความร้อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

คอมเพรสเซอร์แอร์แบบลูกสูบ

คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบนั้นเป็นหนึ่งในคอมเพรสเซอร์แอร์ประเภทต่างๆที่เคยกล่าวมา และคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในแอร์บ้าน ในปัจจุบัน คุณรู้หรือไม่ว่ามันทำงานอย่างไร และมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร  วันนี้เรามาทำการศึกษาเกี่ยวกับคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบกันครับ
คอมเพรสเซอร์แอร์บ้านแบบลูกสูบ
คอมเพรสเซอร์แอร์บ้านแบบลูกสูบ
คอมเพรสเซอร์แอร์แบบลูกสูบนั้นสามารถแบ่งออกได้อีก 2 แบบคือ
  1. คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบมาตรฐาน หมายถึงคอมเพรสเซอร์ ที่มีส่วนประกอบคล้ายกับเครื่องยนต์ กล่าวคือ ลูกสูบของคอมเพรสเซอร์จะเคลื่อนที่ไปในแนวเส้นตรงภานในกระบอกสูบ เป็นการดูดหรืออัดแก๊ส ลูกสูบต่ออยู่กับก้านลูกสูบและเพลาข้อเหวี่ยง
  2. คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบสวอชเพลท เป็นคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบที่มีโครงสร้างต่างไปจาก คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบมาตรฐาน ในแบบสวอชเพลท
คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบมีข้อดีและข้อเสียดังนี้
ข้อดีของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ
  • มีการใช้งานอย่างแพร่หลายมานานทำให้ช่างผู้ติดตั้งสามารถเดินระบบได้อย่างชำนาญ
  • สามารถใช้ในระบบเครื่องปรับอากาศที่มีการเดินท่อระหว่างแฟนคอยล์และคอนเด็นซิ่งไกลๆ
  • มีขนาดให้เลือกใช้กว้างตั้งแต่ 1/20 แรงม้าถึง 50 แรงม้า
  • มีความคงทนสูง
ข้อเสียของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ
  • ประสิทธิภาพต่ำ ทำให้ไม่ประหยัดพลังงาน
  • มีเสียงดัง
  • ต้องใช้อุปกรณ์ในการช่วยสตาร์ท ( รุ่น 220 V/1Ph/50Hz)
ข้าต้นเป็นข้อมูลคล่าวๆเกี่ยวกับ คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ ถ้าท่านสนใศึกษาข้อมูลเชิงลึกควรหาหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงมาศึกษาครับ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง:

  • คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ
  • ส่วนประกอบของแอร์
  • คอมเพรสเซอร์แอร์
  • ส่วนประกอบแอร์
  • ส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์แอร์
  • คอมเพรสเซอร์แอร์แบบลูกสูบ
  • โครงสร้างคอมเพรสเซอร์
  • คอมเพรสเซอร์แบบสวอชเพลต
  • คอมแอร์แบบลูกสูบ
  • คอมเพรสเซอร์ลูกสูบ

คอยล์ร้อนหรือ Condensing unit คืออะไร

คอยล์ร้อนหรือ Condensing unit ที่เราเห็นเป็นตู้สี่เหลี่ยมมักวางอยู่ภายนอกอาคารนั้นคืออะไร ทำหน้าที่อะไร มาทำความรู้จัก คอยล์ร้อนหรือ Condensing unit กันครับ
คอยล์ร้อนหรือ Condensing unit
คอยล์ร้อนหรือ Condensing unit
คอยล์ร้อนหรือ Condensing unit คือ ส่วนประกอบอย่างหนึ่งของแอร์แบบแยกส่วนหรือ Split Type Air condition ทำหน้าที่ระบายความร้อนที่เกิดจากการอัดน้ำยาแอร์ของ Compressor ผ่านคอยล์ร้อนร้อนหรือ Condenser ซึ่งมัลักษณะเป็นท่อท่อแดงขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1/4-1/2 นิ้ว ขดไปมาเป็นแผงอยู่ภายใน Fincoil ก็คืออลูมิเนียมแผ่นเล็กๆเรียงซ้อนกัน ช่วยระบายความร้อนอีกทางหนึ่ง นอกจากพัดลมระบายอากาศ
คอยล์ร้อนหรือ Condensing unit นั้นมีหลายลักษณะ หลายรูปแบบ แล้วแต่ผู้ผลิตและลักษณะการติดตั้ง ที่เราเห็นกันบ่อยๆก็เป็นแบบระบายความร้อนด้วยอากาศ พัดลมเป่าออกด่านข้าง และยังมีแบบเป่าขึ้นด้านบน ที่ทำมาเพื่อติดตั้งในที่ไม่เอื้ออำนวยให้ติดตั้ง คอยล์ร้อนหรือ Condensing แบบเป่าข้าง หรือต้องการซ่อนไม่ให้เห็น เพื่อความสวยงาม
คอยล์ร้อนหรือ Condensing unit ประสอบด้วยส่วนย่อยดังนี้
1.Casing หรือ ฝาครอบ และหน้ากากแอร์
2.Control box หรือ ชุดควบคุมการทำงานของคอร์ยร้อน
3.Condensing Fan หรือ พัดลมระบายอากาศ
4.Condenser หรือ แผงคอร์ยร้อน
5.Compressor หรือ เครื่องอัดไอ
ที่กล่าวคือความรู็เบื้องต้นเกี่ยวกับ คอยล์ร้อนหรือ Condensing unit ที่เราควรรู้ไว้ เผื่อมีปัญหาจะได้แก้ปัญหาเบื้องต้นได้ครับ แต่ถ้าแก้ด้วยตัวเองไม่ได้ควรติดต่อช่างผู้เชี่ยวชาญนะครับ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง:

  • คอยล์ร้อน
  • condensing unit คือ
  • คอยล์ร้อน คือ
  • condenser คือ
  • condensing
  • ส่วนประกอบแอร์บ้าน
  • condenser คืออะไร
  • คอยล์ร้อนแอร์
  • condensing unit คืออะไร
  • condensing unit

น้ำยาแอร์ หรือ สารทำความเย็น

น้ำยาแอร์ หรือ สารทำความเย็น เป็นส่วนสำคัญในระบบปรับอากาศ ที่จะช่วยให้แอร์สามารถ ปรับอากาศในห้องนั้นได้ สารทำความเย็นนั้นคืออะไร มีหน้าที่อย่างไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง มาดูกันครับ
น้ำยาแอร์ หรือ สารทำความเย็น
น้ำยาแอร์ หรือ สารทำความเย็น
สารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ มีส่วนผสมระหว่าง ฟลูออรีน, คลอรีน และมีเทน ซึ่งมีสัดส่วนแตกต่างกันไปตามประเภทของน้ำยานั้นๆ เช่น R-11,R-12, R-22,R-134A, R-407C น้ำยาเหล่านี้มีคุณสมบัติเฉพาะตัวห้ามนำเอามาผสมกันเด็ดขาด ในปัจจุบันน้ำยา R-11, R-12, R-22 ได้ถูกลดจำนวนการผลิตลงและจะยกเลิกในเร็วๆ นี้ เนื่องจากมันมีส่วนทำลายชั้นบรรยากาศ หรือ โอโซนนั้นเอง โดย R-12 จะถูกแทนด้วยน้ำยา R-134A และ R-22 ถูกแทนด้วย R-407C เป็นต้น
น้ำยาแอร์ที่มีจุดเดือดต่ำจะใช้ในการทำความเย็นที่อุณหภูมิต่ำ และสารทำความเย็นที่มีจุดเดือดสูงจะถูกใช้ในทำความเย็นที่อุณหภูมิสูง ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน แอร์ สำหรับชนิดที่นิยมใช้กันมากที่สุดสำหรับ แอร์บ้าน ก็คือ R-22 (Freon-22) โดยมีจุดเดือดอยู่ที่ -40.8 ‘C
สารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ ที่ใช้กันในปัจจุบันสำหรับ แอร์บ้าน ทั่วไป เป็นสารจำพวก CFCs (Chloro Fluoro Carbons) ซึ่งมีคุณสมบัติคือ ไม่มีพิษ ไม่มีกลิ่น และความถ่วงจำเพาะของสารในสถานะก๊าซจะหนักกว่าอากาศ โดยที่สารเหล่านี้จะมีจุดเดือดที่ต่ำกว่าสารทั่วไป จึงถูกนำมาใช้ในการทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์นั่นเองครับ
สารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ มีหลายชนิดและหลายยี่ห้อในท้องตลาด  สามารถเลืกซื้อเลือกหาตามต้องการ หรือติกต่อทางร้านของเราได้เลยครับ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง:

  • น้ำยาแอร์
  • น้ำยาแอร์ r22
  • สารทําความเย็น
  • ราคาน้ํายาแอร์ในการถ่ายเทความร้อน คอยล์เย็นแบบขยายตัวโดยตรงที่ใช้งานกับระบบปรับอากาศ จะควบคุมอัตราการไหลของน้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็นโดยวาล์วขยายตัว เพื่อให้ไอสารทำความเย็นที่ออกจากคอยล์เย็นมีสภาวะเป็นไอร้อนยิ่งยวด
แต่ยังมีคอยล์เย็นอีกแบบหนึ่ง คือ แบบที่ทำให้สารทำความเย็นเหลวไหลเวียน หรือ ถูกดูดเข้าไปยังคอยล์เย็นที่ความดันและอุณหภูมิต่ำเป็นจำนวนมากอย่างเหลือเฟือ ซึ่งของเหลวบางส่วนจะเดือดไปในคอยล์เย็น แต่ยังคงเปียกและท่วมอยู่ที่ปากทางออก ส่วนที่เป็นของเหลวจะถูกแยกออก ยังคงเหลือเฉพาะส่วนที่เป็นไอไปเข้าคอมเพรสเซอร์ ในระบบทำความเย็นที่มีอุณหภูมิต่ำมาก ๆ มักจะใช้คอยล์เย็นแบบนี้ เนื่องจากมีข้อได้เปรียบที่มีผิวภายในเปียกตลอดทั้งคอยล์เย็น และประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อนสูงกว่า
หน้าที่ของคอลย์เย็นก็มีแค่นี้ครับ ส่วนข้อมูลเชิงลึกนั้นจะไม่ขอพูดถึงนะครับ ใครสนใจข้อมูลที่ลึกกว่านี้ ก็หาหนังสือมาศึกษาต่อครับ เพราะมันยาวมากๆ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง:

  • คอยล์เย็น
  • คอล์ยเย็น
  • คอยล์เย็น คือ
  • evaporator คืออะไร
  • ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ
  • ส่วนประกอบของแอร์บ้าน
  • คอยล์เย็นคือ
  • ราคาคอยล์เย็นแอร์บ้าน
  • ปัญหาแอร์บ้าน
  • คอยเย็น คือ

คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่

คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่เป็นคอมเพรสเซอร์แอร์ชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กัน คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร ทำงานอย่างไร แตกต่างจากคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบอย่างไร มาลองศึกษากันดูครับ
คอมเพรสเซอร์แอร์บ้านโรตารี่
คอมเพรสเซอร์แอร์บ้านโรตารี่
คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ เป็นการออกแบบที่จะไม่มีลูกสูบในคอมเพรสเซอร์ แต่จะใช้สิ่งที่คล้ายๆใบพัดที่จะหมุนอยู่ภายในคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ เพื่อที่จะนำพาน้ำยาแอร์เข้าทางด้าน Suction และผลักออกมาทางด้าน Discharge. (โดยปกติน้ายาแอร์ในด้าน suction จะเป็นก๊าซ และเมื่อส่งผ่านให้ออกไปทางด้าน discharge ก็จะมีความดันมากขึ้น หลังจากนั้นน้ำยาแอร์สถานะก๊าซ ก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวอีกครั้งเมื่อผ่าน condensor อันนี้เป็น concept ของหน้าที่คอมเพรสเซอร์ครับ)
ข้อดีของคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่
จากผลการทดลองของเมืองนอก โรตารี่สามารถสร้างความเย็นได้มากสุด โดยเทียบความจุต่อปอนด์ของคอมเพรสเซอร์ขนาดเท่ากันครับ
ข้อเสียของคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่
ซ่อมยาก หรือซ่อมไม่ได้เลยสำหรับช่างครับ แต่ถ้าเป็นคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบก็จะซ่อมได้ง่ายกว่าครับ
แอร์ทุกเครื่องมีคอมเพรสเซอร์อยู่ภายใน ยุคแรกๆมีเฉพาะคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ แต่ในปัจจุบัน คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ และคอมเพรสเซอร์แอร์แบบสโกล์ โดยทั่วไป คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่จะทำงานเงียบและกินไฟน้อยกว่า จึงได้รับความนิยมมากขึ้น แต่จะมีขนาดจำกัด ส่วนคอมเพรสเซอร์แอร์แบบสโกล์ รุ่นใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม และมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นคอมเพรสเซอร์รุ่นใหม่ๆยังมักจะออกแบบให้ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ปรับรอบหรืออินเวอร์เตอร์ด้วย

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง:

  • คอมเพรสเซอร์ แบบ ลูกสูบ
  • คอมเพรสเซอร์ แบบ โรตารี่
  • คอมเพรสเซอร์ แบบโรตารี่
  • ส่วนประกอบคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่
  • ชนิดคอมเพรสเซอร์
  • หลักการทํางาน คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่
  • คอมโรตารี่
  • คอมเพรสเซอร์โรตารี่ คือ
  • คอมแอร์แบบโรตารี่
  • คอมแอร์โรตารี่
Ph diagramและไซโครเมตริก
1.Ph diagram

วัฏจักรของกำรท ำควำมเย็นบน p-h ไดอะแกรม



กระบวนกำรบน p-hไดอะแกรม

 • กระบวนการจาก 1-2 เป็ นกระบวนการอัดไอ อุปกรณ์คือ คอมเพรสเซอร์(compressor)
 • กระบวนการจาก 2-3 เป็ นกระบวนการควบแน่น อุปกรณ์คือ คอนเดนเซอร์ (condenser)
 • กระบวนการจาก 3-4 เป็ นกระบวนการทอตติง (throttling)อุปกรณ์คือ วาล์วขยาย (expansion valve)
 • กระบวนการจาก 4-1เป็ นกระบวนการระเหย อุปกรณ์คือเครื่องทำระเหย (evaporator



2.แผนภูมิไซโครเมตริก (Psychometric Chart) เป็นแผนภูมิที่บอกถึงรายละเอียดของอากาศที่สภาวะต่าง ๆ เชื่อว่าหลายท่านที่ทำงานในสายงานเครื่องกล เช่น งานปรับอากาศและความเย็นคงจะรู้จักแผนภูมินี้ และการที่เราเข้าใจแผนภูมินี้จะทำให้เราเข้าใจถึงธรรมชาติและกระบวนการการเปลี่ยนแปลงของสภาวะของอากาศตลอดจนสามารถนำมาใช้งานและวิเคราะห์แก้ใขปัญหาในงานที่เกี่ยวข้องได้มากยิ่งขึ้น

ความสำคัญของอากาศและการใช้งาน    เชื่อว่าทุกคนคงจะรู้จักอากาศ (Air) กันเป็นอย่างดี อากาศมีอยู่ทุก ๆ ที่เราทุกคนใช้อากาศในการหายใจ อากาศเป็นตัวช่วยในการติดไฟของเชื้อเพลิงในการหุงต้มหรือในเครื่องยนต์หรือเครื่องจักรต่าง ๆ ในงานด้านวิศวกรรมและการผลิต อากาศถูกนำมาใช้ประโยชน์ในกระบวนการต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนี้จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติ รายละเอียดตลอดจนธรรมชาติของอากาศซึ่งถ้าเราจะอธิบายกันแบบลอย ๆ นั้นก็ยากที่จะเข้าใจแผนภูมิ (Chart) หนึ่งที่จะนำมาอธิบายคุณสมบัติของอากาศได้ดีก็คือแผนภูมิไซโครเมตริก (Psychometric Chart) ซึ่งในแผนภูมิดังกล่าวจะรวบรวมความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ของอากาศให้ง่ายต่อการเข้าใจในรายละเอียด



คุณสมบัติสำคัญ ๆ ของอากาศ   ในงานทางวิศวกรรม เช่น งานปรับอากาศหรือทำความเย็นนั้นคุณสมบัติต่าง ๆ ของอากาศเป็นสิ่งที่มีผลกับสิ่งที่เราต้องการควบคุม เช่น อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์และอื่น ๆ บทความต่อไปนี้จะอธิบายถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของอากาศเพื่อให้เป็นที่เข้าใจอย่างง่าย ๆ ดังนี้

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

อุปรณ์ควบคุมในระบบทางกล

       1.ตัวควบคุมสารทำความเย็น (Refrigerant Control) การที่จะให้เกิดความเย็นขึ้นได้ จะต้องมีอุปกรณ์ หรือตัวควบคุม ปริมาณสารทำความเย็น ที่จะฉีดเข้าในอีแวปปอเรเตอร์ ซึ่งสามารถทำ งานได้โดยอัตโนมัติ เพื่อจะทำให้สารทำความเย็นเหลวที่มีความดันสูง กลายเป็นของเหลวที่มีความดันต่ำ พร้อมที่จะมีปริมาณเพียงพอ ที่จะ รักษาความเย็นให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด คือควบคุมให้ปริมาณสารทำ ความเย็น ให้ระเหยหมดพอดีในอีแวปปอเรเตอร์ ตัวควบคุมสารทำความเย็น ที่ใช้ใน เครื่องปรับอากาศในรถยนต์ ส่วนมากจะใช้เทอร์โมสแตติคเอ็กซ์แปนชั่นวาล์ว(Thermostatic Expansion Valve)                                                                                                                                                      
                                                                                                                                                                  
2.การป้องกันความดันสูง/ต่ำ วาล์วบริการ (service valves) คืออุปกรณ์ที่ติดตั้งในระบบทำความเย็น ประกอบด้วยวาล์วบริการด้านความดันต่ำ (low side หรือ suction service valve) ติดตั้งอยู่ด้านความดันต่ำของระบบ เช่น ติดตั้งที่ทางเข้าคอมเพรสเซอร์ หรือติดตั้งอยู่กับท่อสารทำความเย็นด้านดูดที่ออกจากเครื่องระเหย และวาล์วบริการด้านความดันสูง (high side หรือ dischange service valve) ซึ่งจะติดตั้งอยู่ด้านความดันสูงของระบบ เช่น ติดตั้งที่ทางออกของคอมเพรสเซอร์ หรือติดตั้งอยู่กับท่อสารทำความเย็นเหลวที่ออกจากคอมเพรสเวอร์ ในการปฏิบัติงานเพื่อการบริการและตรวจวิเคราะห์ปัญหาในระบบทำความเย็น จะใช้เกจแมนิโฟลด์ต่อเข้ากับวาล์วบริการของระบบทำความเย็น                                                                                                                                                                            

3.การป้องกันน้ำมันเข้าระบบ สาเหตุที่ต้องทำท่อ Trap ในกรณีที่วางคอยล์ร้อนในตำแหน่งสูงเหนือคอยล์เย็น เนื่องจากอธิบายง่ายๆตามกฎของธรรมชาติ ที่กล่าวว่า "ของเหลวทุกชนิดจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ" ในระบบเครื่องทำความเย็นก็เช่นกัน น้ำมันที่อยู่ในคอมเพรสเซอร์อยู่ในสถานะของเหลว ซึ่งน้ำมันในคอมเพรสเซอร์ มีหน้าที่ในการระบายความร้อนให้คอมเพรสเซอร์ และ หล่อลื่นระบบทางกลหรือกลไกลในคอมเพรสเซอร์ ในกรณีที่เครื่องทำงาน การดูดอัดสารทำความเย็นของคอมเพรสเซอร์ จะอัดน้ำมันที่อยู่ในตัวออกมาพร้อมสารทำความเย็นมาทางท่อทางอัด และดูดกลับเข้าไปในคอมเพรสเซอร์ทางท่อทางดูด ในการติดตั้งโดยวิธีให้ชุดคอยล์ร้อนวางในตำแหน่งต่ำกว่าคอยล์เย็น น้ำมันหล่อลื่น ย่อมไหลกลับสู่คอมเพรสเซอร์ตามแรงดึงดูดอย่างง่ายดาย แต่หากการติดตั้งที่ต้องวางคอยล์ร้อนให้สูงเหนือคอยล์เย็น ถ้าหากไม่มีการทำท่อดักน้ำมันไว้น้ำมันก็จะไหลลงได้เช่นกันเพราะในระบบท่อนั้นเป็นสูญญากาศ แต่การไหลกลับจะไหลกลับไม่ทันต่อการระบายความร้อน เนื่องจากน้ำมันมีความหนืดและน้ำหนักมากกว่าสารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นแก๊สในท่อทางดูด ทำให้การระบายความร้อนทำได้ไม่ดี มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ร้อนจนถึงร้อนจัด

4.การป้องกันน้ำแข็งอุตตันในระบบ น้ำยาป้องกันและกำจัด ตะกรัน/สนิม ในระบบ ชิลเลอร์ NEW CLEAN 103 ขนาดบรรจุ 1 แกลอน = 20 ลิตร เป็นเคมีภัณฑ์ชนิดน้ำ ใช้สำหรับเติมในระบบชิลเลอร์ของคูลลิ่ง ทาวเวอร์ ทั้งแบบทรงกลม และแบบทรงสี่เหลี่ยม เพื่อรักษาคุณภาพของน้ำในระบบให้อยู่ในค่าปกติ NC. 103 เป็นเคมีภัณฑ์รุ่นใหม่ล่าสุด มีคุณสมบัติพิเศษต่างจากเคมีภัณฑ์ชนิดเดียวกันอื่นๆ ในท้องตลาดทั่วไป คือ NC. 103 เป็นเคมีภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น เพื่อทำปฏิกิริยากับตะกรันและสนิม ที่ปนเปื้อนในน้ำเย็น ในระบบชิลเลอร์ เท่านั้น โดยจะไม่ทำปฏิกิริยากับ โลหะหนัก/ท่อต่างๆ ในระบบชิลเลอร์